แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ตั้งอยู่เลขที่
85 หมู่ 8 ถนนประชาอุทิศ ตำบลจันทร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
ประวัติความเป็นมา
จากการบอกเล่าของผู้แก่ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าตำบลวัดจันทร์
มีวัดเก่าแก่อยู่ 3 วัด ที่เรียกว่าวัดจันทร์ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของวัดนั้น มีต้นจันทน์ขึ้นมากจึงตั้งชื่อตามสภาพที่มีต้นจันทน์นั้นว่า
“ตำบลวัดจันทร์”
มีบ้านเรือนตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำน่านจึงเรียกชื่อตามวัดที่ตั้งว่า
วัดจันทร์ตะวันออกและวัดจันทร์ตะวันตก
ผู้นำตำบลวัดจัทร์
นายปรีดา
ภู่ศรี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
แผนที่ตำบลวัดจันทร์
ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- - แม่น้ำน่าน จำนวน
1 สาย
- - บึง
คลอง จำนวน 8
แห่ง
- - สระน้ำบึงขาม
และทุ่งหนองฝา จำนวน 2
แห่ง
พื้นที่
ตำบลวัดจันทร์
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ห่างจาก ตัวจังหวัดและอำเภอ ประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครอง 11.26 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,038 ไร่
เขตการปกครองแบ่งเขตการปกครองเป็น
6 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน
หมู่
2 บ้านวัดจันทร์ หมู่
4 บ้านวัดจันทร์
หมู่ 7 บ้านดอน หมู่ 8 บ้านนาโพธิ์แดง
หมู่ 9 บ้านวัดจันทร์ หมู่10 บ้านวัดจันทร์ตะวันตก
พื้นที่เขตการปกครองตำบลวัดจันทร์
อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก
จำนวนประชากรใน
หมู่ 7 ตำบลวัดจันทร์
ประชากรทั้งสิ้น
1,058 ครัวเรือน จำนวน 2,063 คน
ประกอบด้วย
ชาย
จำนวน 978 คน
คิดเป็นร้อยละ 47.30
หญิง
จำนวน 1,085
คน คิดเป็นร้อยละ 52.70
มีความหนาแน่นเฉลี่ย
726.80 คน/ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมด
5,010
ไร่
ระบบเศรษฐกิจ
1.การเกษตร
ประชากรในเขตตำบลวัดจันทร์
ร้อยละ 30 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 53
ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 45 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
2.การปะมง
ประชาการในเขตตำบลวัดจันทร์ ร้อยละ 1
ของประชากรทั้งหมด ประกอบอาชีพประมง (เลี้ยงปลา)
3.การปศุสัตว์
เป็นการประกอบอาชีพในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม
เช่น
การเลี้ยงไก่ โค
สุกร
4.การบริการ
-
โรงแรม/คอนโดมิเนียม 6 แห่ง
-
หมู่บ้านจัดสรร
16 แห่ง
-
อพาร์ทเม้น/หอพัก
20 แห่ง
-
ร้านค้า/สถานประกอบการพาณิชย์ 107
แห่ง
-
ร้านเกมส์ 1
แห่ง
5.
การท่องเที่ยว
-
โฮมสเตย์ 15 ครัวเรือน
6. อุตสาหกรรม
-
จำนวนกิจการอุตสาหกรรม 27 แห่ง
7.
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
-
สถานีบริการน้ำมัน/ปั้มแก๊ส 1 แห่ง
-
ร้านค้าต่างๆ 47 แห่ง
แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล
ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาตำบลวัดจันทร์
ประวัติของศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลวัดจันทร์
ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลวัดจันทร์
ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2549 ณ
บริเวณวัดราชมณฑป (วัดหลวงพ่อโต) หมู่ที่ 7 ตำบลวัดจันทร์
โดยมีนางแสงจันทร์ ใยบัว เป็นประธานโครงการศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน
ตำบลวัดจันทร์ ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
น.อ. จุลินทร์ เหลือนาค
องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์และสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองพิษณุโลก ทางศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลวัดจันทร์
ได้นำเงินงบประมาณไปดำเนินการบริหารจัดการพัฒนาศูนย์ฯ ต่อไป
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงอะไร
คำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง
ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน
รวมทั่งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง
จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาหมู่ที่
2
คุณแสงจันทร์ ใยบัว
บ้านเลขที่ 13/51 หมู่ที่ 2 เบอร์โทรศัพท์ 089 – 5129123
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำบายศรีจากใบตองสด, กระทงฝีมือ, งานใบตอง, งานดอกไม้
นางสาวบุษกร พูนทวี บ้านเลขที่ 56/50 หมู่ที่ 2 ตำบลวัดจันทร์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
เบอร์โทรศัพท์ 085 – 0492057
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำเซรามิก
คุณเสริม มากวงศ์ (คุณบัวทอง) บ้านเลขที่ 52/10 หมู่ที่ 2 เบอร์โทรศัพท์ 055 – 230689 ,089 – 4601699
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการนวดสมุนไพร, ลูกประคบสมุนไพร, นวดแผนโบราณ,
ผลิตยาสมุนไพร
ผู้ใหญ่บ้านวีระ ฤทธิ์ทอง ซอยพรรณเพียร 1 หมู่ที่ 2 เบอร์โทรศัพท์ 087
– 6966498
ปราชญ์ชาวบ้านด้านรำวงมังคละ
ภูมิปัญญาหมู่ที่
4
อาจารย์พวงเพชร สุขสิริโรจน์ (ช่างหมี) บ้านเลขที่ 60/14 หมู่ที่ 4 เบอร์โทรศัพท์ 089
– 5671235
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำตู้ปลาทีวี
คุณสะอาด มั่นคง
บ้านเลขที่ 70/2 หมู่ที่ 4 (ซอยทุ่งหนองฝา)
ข้างร้านซ่อมจักรยาน เบอร์โทรศัพท์ 087 – 8231603
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการถักแห, ถักแปลนอน
คุณวาสนา สิงหพันธุ์ บ้านเลขที่
51/13 หมู่ที่ 4 เบอร์โทรศัพท์ 081 – 7407051
ปราชญ์ชาวบ้านด้านลิเกคณะวาสนาดาวเหนือ
ผู้ใหญ่บ้านวิธวัช พึ่งพิน บ้านเลขที่ 19/20 หมู่บ้านกฤษสิริ หมู่ที่ 4
ปราชญ์ชาวบ้านด้านผู้จัดการลิเก
ภูมิปัญญาหมู่ที่
7
คุณกุหลาบ มาทอง บ้านเลขที่
49/1 หมู่ที่ 7 เบอร์โทรศัพท์ 089 – 9606084,055 – 335041
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำผลิตภัณฑ์น้ำพริก, กล้วยแปรรูป, ขนมแปรรูป
คุณสมจิตร สังเทศ บ้านเลขที่
61/4 หมู่ที่ 7 เบอร์โทรศัพท์ 084 – 6198784
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำขวัญนาค, แหล่, พิธีกรรมทางงศาสนา
ภูมิปัญญาหมู่ที่
9
คุณสมผล มีพยุง
บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 9 เบอร์โทรศัพท์ 089 – 6443074
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำขนมไทย, อาหารไทย, ร้องเพลงกล่อมเด็ก(ลูก),
งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้, ขนมพื้นบ้าน,
ขนมกวน, ขนมแดง
คุณประหยัด แป้นภูมี บ้านเลขที่ 48 ซอยต้นยาง หมู่ที่ 10 เบอร์โทรศัพท์
089 – 4606210
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำจักรสาน, ขนมตาล
ผู้ใหญ่บ้านรุ่งทิวา ฆ้องแสง บ้านเลขที่ 4/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการรำกลองยาว, ขนมไทยโบราณ (ขนมทองม้วน)
ภูมิปัญญาหมู่ที่
10
คุณสำเภา เชิดโคกสูง
บ้านเลขที่ 41/1 หมู่ที่ 10 ตำบลวัดจันทร์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
เบอร์โทรศัพท์ 055 – 215665
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการแกะสลัก, ทำอาหารพื้นบ้าน, แกงบอน,
แกงหยวก
แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม
งานประเพณี
1. ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
2. ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่ชาวบ้านจัดขึ้นทุกปี มีการตักบาตรเทโว และแห่เทียนพรรษา
3. ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำของทุกปี มีการทำบุญตักบาตร การรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
2. ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่ชาวบ้านจัดขึ้นทุกปี มีการตักบาตรเทโว และแห่เทียนพรรษา
3. ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำของทุกปี มีการทำบุญตักบาตร การรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
4. ทำบุญกลางบ้าน
แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่และแหล่งธรรมชาติ
วัดจันทร์ตะวันตก หมู่ 7 ถ.วังจันทน์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 เป็นวัดแห่งหนึ่งริมแม่น้ำน่านตั้งอยู่บริเวณสะพานสุพรรณกัลยา
อยู่ตรงข้ามกับวัดจันทร์ตะวันออกโดยมีแม่น้ำน่านกั้นกลาง
หมู่บ้านวัดจันทร์ตะวันตกจะก่อตั้งเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดแต่พอจะทราบได้จากบันทึกและคำบอกกล่าวเล่าต่อๆ
กันมาพอจะสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้ ประมาณปีพ.ศ. 2400 เดิมทีที่ตั้งของหมู่บ้านแห่งนี้เป็นป่าดงในอดีตมีวัดรังเงิน
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มาก ผู้รู้เล่าขานกันมาว่าวัดรังเงินสร้างขึ้นมาพร้อมๆ
กับการสร้างเมืองพิษณุโลก ประชากรที่อาศัยอยู่รอบๆ วัดเป็นลาวอพยพมาจากเวียงจันทน์
ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้เผาผลาญบ้านเรือนของผู้อุปถัมภ์วัดที่อยู่รอบๆ
วัดเสียหายหมด
ชาวบ้านไม่สามารถดับไฟได้เพราะในหมู่บ้านมีแต่บ่อน้ำที่ขุดใช้เองทำให้มีน้ำไม่เพียงพอที่สู้ภัยจากไฟได้เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากแม่น้ำน่าน
จึงร่วมกันคิดขึ้นมาว่าควรจะหาสถานที่ตั้งวัดติดกับแม่น้ำ นายเทศ นางทองคำ
มีจิตศรัทธาได้มอบที่ดินของตนให้กับวัดจำนวน 16 ไร่ 3
งาน เมื่อดำเนินการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ
นิมนต์หลวงพ่อเสือที่อยู่วัดรังเงินมาอยู่ที่วัดสร้างใหม่ ณ
ที่อยู่ปัจจุบันนี้และได้ตั้งชื่อว่าวัดจันทร์เมื่อ พ.ศ. 2400 เหตุผลที่ตั้งชื่อว่าวัดจันทร์นั้นเพราะว่าในวัดมีตันจันทร์ใหญ่อยู่ 1
ต้น และมีต้นจันทน์เล็กๆ อีกหลายต้นขึ้นอยู่ในวัด
ในปี พ.ศ. 2481 ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นใช้ศาลาของวัดเป็นโรงเรียน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนจากวัดฯ มาตั้งอยู่ที่วัดรังเงิน ซึ่งร้างว่างเปล่าอยู่นานแล้วและใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตกมิตรภาพที่ 73" อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนวัดจันทร์ตะวันตก ได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาเมื่อ 19 มีนาคม 2490 สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงได้รับนามว่า วัดจันทร์ตะวันตก โดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
ในปี พ.ศ. 2481 ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นใช้ศาลาของวัดเป็นโรงเรียน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนจากวัดฯ มาตั้งอยู่ที่วัดรังเงิน ซึ่งร้างว่างเปล่าอยู่นานแล้วและใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตกมิตรภาพที่ 73" อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนวัดจันทร์ตะวันตก ได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาเมื่อ 19 มีนาคม 2490 สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงได้รับนามว่า วัดจันทร์ตะวันตก โดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
หลวงพ่อทองไหลมา
หลวงพ่อทองไหลมามีความสูงประมาณ
18 ศอก เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรประทับยืนสูงมาก
อยู่กลางลานกว้างของวัด เป็นที่สะดุดตาประชาชนที่เดินทางผ่านไปมาตามถนนข้างวัด
ลักษณะการสร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรสูงๆ และการสร้างวิหารสมเด็จองค์ปฐม
มหาวิหารมี 2 ชั้น
เรียกมหาวิหารปฐม 2 ชั้น ชั้น 1 จะเป็นห้องโถง
ชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติธรรม
จะสร้างเสร็จประมาณปี 2564-2565 งบประมารในการสร้างมหาวิหารนี้อยู่ที่ 400 ล้านบาท
แม่น้ำน่านมีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง
จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740
กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน
นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย
โดยได้ไหลย้อนขึ้นไปท่วมจังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ
แหล่งเรียนรู้ประเภทวัสดุอุปกรณ์
สาธารณสุข
โรงพยาบาลเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 6 แห่ง
รถกู้ชีพ
กู้ภัย 1 คัน
รถยนต์บรรทุกขยะ
แบบอัดท้าย 1 คัน
สถานศึกษา จำนวน 6 แห่ง
โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารตำบลวัดจันทร์
โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตก
โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก
โรงเรียนเทศบาล5 (วัดพันปี)
โรงเรียน อนุบาลปาริมา พิษณุโลก
โรงเรียน อนุบาลเซนต์พอล
หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 แห่ง
ศูนย์ส่งเสริมเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ถ.สีหราชเดโชชัย ต.วัดจันทร์
อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหญ้าไซ ถ.สีหราชเดโชชัย ต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลก
จ.พิษณุโลก 65000
สำนักงานเทศบาลตำบลสำนักขุนเณร ถ.,บรมไตรโลกนารถ 38, ต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลก
จ.พิษณุโลก 65000
สถานบริการด้านสุขภาพ จำนวน 4 แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลวัดจันทร์ 72
หมู่7
ต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก
ศูนย์สุขภาพชุมชนพันปี ถ.บรมไตรโลกนารถ ต.วัดจันทร์
อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000
ศูนย์สุขภาพชุมชนประชาอุทิศ ถ.ไชยานุภาพ ซอย 7 ต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลก
จ.พิษณุโลก 65000
สถานีอนามัยตำบลวัดจันทร์ ถ.เย็นศิริ
ต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000
สถานที่ท่องเที่ยว
ถนนคนเดิน
ถนนแห่งความสุขที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันเสาร์
ซึ่งเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและชาวเมืองพิษณุโลกได้มาเลือกซื้อสินค้านานาชนิด
ตั้งแต่ศิลปหัตถกรรม เสื้อผ้า สินค้าโอทอป สินค้าการเกษตร
ตลอดจนอิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่มที่เรียงรายบนถนนยาวกว่า 500 เมตร และยิ่งกว่านั้น
สิ่งที่น่ารื่นรมย์ที่สุดต้องยกให้กิจกรรมรำวงย้อนยุคซึ่งหาชมได้ยากแล้วในปัจจุบัน
แถมคุณยังเข้าไปร่วมรำกับชาวบ้าน ได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย ถนนคนเดินจัดขึ้นบริเวณถนนสังฆบูชา
หน้าวัดจันทร์ตะวันออก อำเภอเมืองพิษณุโลก เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 16.00-24.00 น.
บัววิคเตอรเรีย
สวนบัวอมรรัตน์ ตั้งอยู่เลขที่ 5/1 หมู่ 10
ต.วัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลกในสระน้ำที่มีบัวพันธุ์แปลกขนาดใหญ่
โดยบัวพันธุ์นี้เรียกว่าบัวพันธุ์วิคเตอเรีย หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
“บัวกระด้ง” ลักษณะของใบบัวจะมีความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 – 2 เมตร
มีหนามแหลมคมรอบด้านใต้ใบบัว ไม่เหมือนใบบัวสายพันธุ์อื่นที่มีใบเล็ก
ส่วนดอกบัวจะมีสีขาวตูมจะบานยามเช้าและพลบค่ำ แต่เมื่อบานแล้วก็จะมีสีขาวสลับกับสีชมพูสวยงามโดยบัวชนิดนี้จะชอบดินโคลนที่อยู่ก้นสระ
การดูแลก็ไม่อยากแต่ต้องคอยกำจัดหอยที่มักจะมากัดกินใบเสียหายได้
ทั้งนี้หลังจากมีเพื่อนบ้านมาเที่ยวชมความงามของบัวพันธุ์วิคเตอเรีย หรือ
“บัวกระด้ง” ก็ขออนุญาตตนลงไปนั่งหรือยืนบนใบบัว เนื่องจากลักษณะใบมีความมั่นคงแข็งแรง
สามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึงเกือบ 100 กก.
ร้านอาหาร
ก๋วยเตี๋ยวไก่วัดจันทร์
(ป้าล้อม)
ที่อยู่
ถนนบรมไตรโลกนาถ ซอย 15 เทศบาลนครพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์
085-8764406
แม่แอ๊ดขนมวงโบราณ
ที่อยู่ ถนนพุทธบูชา พิษณุโลก
โทรศัพท์ 081-4745824
สงวนลิขสิทธิ์รูปภาพและข้อมูล(ห้ามคัดลอกหรือนำไปดัดแปลงโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต)
สงวนลิขสิทธิ์รูปภาพและข้อมูล(ห้ามคัดลอกหรือนำไปดัดแปลงโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต)
อาจารย์ผู้สอน
ผศ.น้อย คันชั่งทอง
คณะผู้จัด
นางสาวชลนิชา แสงสว่าง
นางสาวสุธิดา ศีละมัย
นายชยพัทร์ โพธิ์เงิน
นายอาทิตย์ ดำมินเศก
คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น